ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

1. ชื่อผลงาน ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นางประภาพรรณ ชุมดี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งไพลนายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งไพลนางสาวศุทธินี ติ้งจันทร์ เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่วนงานราชการลดความซับซ้อนในการบริหารงานเอกสารด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้ข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนยิ่งขึ้น ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ (Paperless) และประหยัดค่าใช้จ่ายในหน่วยงานราชการ โรงเรียนบ้านทุ่งไพล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้พัฒนา ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของโรงเรียนบ้านทุ่งไพล ขึ้น เพื่อลดขั้นตอนในการนำเสนอหนังสือราชการ ประหยัดเวลา ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษของโรงเรียน และแก้ปัญหาการเก็บเอกสาร โดยในปีการศึกษา 2565 งานสารบรรณของโรงเรียนบ้านทุ่งไพล ใช้ปริมาณกระดาษไปมากถึง ๑๕,๐๐๐ แผ่น 4. วัตถุประสงค์ 5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของโรงเรียนบ้านทุ่งไพล ได้พัฒนาโดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat ร่วมกับ Google Drive และ […]

ผู้ดูแลระบบ

12/06/2566

การจัดการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรม Edpuzzle

1. ชื่อผลงาน การแทรกคำอธิบายหรือคำถามคั่นระหว่างการรับชมวิดีโอ เพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับการจัดการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรม Edpuzzle 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ในยุคปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิดิโอเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-๑๙) ครูผู้สอนนิยมใช้คลิปวิดีโอประกอบการจัดการเรียนรู้ เพราะ เป็นวิธีการที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเอื้อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกเวลาที่มีความพร้อม แต่ด้วยการสอนผ่านการส่งคลิปวิดีโอการสอนนั้น อาจทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากดู ส่งผลให้นักเรียนไม่มีความสุขในการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำลง           จึงได้นำเทคโนโลยีโปรแกรม Edpuzzle มาใช้เป็นสื่อเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยเป็นโปรแกรมเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับแทรกคำแนะนำหรือคำถามคั่นระหว่างการเรียนรู้ผ่านการรับชมวิดีโอการจัดการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น เพื่อทำให้การจัดการเรียนรู้ผ่านการรับชมวิดีโอมีความน่าสนใจ ดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้อยู่กับวิดีโอการจัดการเรียนรู้และช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ผ่านการตอบคำถามที่คั่นระหว่างการรับชมวิดีโอการจัดการเรียนรู้ 4. วัตถุประสงค์ เพื่อใช้เทคโนโลยีโปรแกรม Edpuzzle ในการจัดการเรียนรู้ผ่านวิดิโอการจัดการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจและกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ผ่านการตอบคำถามที่คั่นระหว่างการรับชมวิดีโอการจัดการเรียนรู้           เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาจากการเรียนรู้ผ่านวิดีโอการจัดการเรียนรู้ผ่านการแทรกคำแนะนำและคำถามคั่นระหว่างการรับด้วยด้วยโปรแกรมเว็บไซต์ Edpuzzle มากขึ้น 5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ สมัครและลงชื่อเข้าใช้ โปรแกรม Edpuzzle ผ่านเว็บไซต์ https://edpuzzle.com กด Add Content มุมบนขวาของเว็บไซต์ […]

ผู้ดูแลระบบ

06/05/2565

การจัดการเรียนรู้การสร้างรูปเรขาคณิต ด้วย MathsPad

1. ชื่อผลงาน การจัดการเรียนรู้การสร้างรูปเรขาคณิต ด้วย MathsPad 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ในสถานการณ์ที่การจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนต้องเปลี่ยนไป ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จากเดิมที่ครูสามารถการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน หรือ รูปแบบ On-Site ได้ครูจึงต้องหาวิธีการหรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ มาปรับใช้ในเหมาะสมกับสถานการณ์ เนื้อหาและความพร้อมของนักเรียน แต่ด้วยข้อกำจัดที่มาพร้อมกับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ดังกล่าว จึงทำให้เนื้อหา สาระหรือตัวชี้วัดบางตัวยากที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ ในวิชาคณิตศาสตร์ก็เช่นกัน ในสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ รูปเรขาคณิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการสร้างรูปเรขาคณิต เช่น ตัวชี้วัด ค 2.2 ป.6/2 สร้างรูปสามเหลี่ยมเมื่อกำหนดความยาวของด้านและขนาดของมุม ฯลฯ จึงทำให้ตัวชี้วัดดังกล่าวจัดเป็นตัวชี้วัด “ควรรู้” เช่นเดียวกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่ยากต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ปัจจุบัน  จึงได้นำเว็บเพจ MathsPad มาใช้เป็นสื่อเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือเรขาคณิต โดยสามารถใช้เว็บไซต์ดังกล่าวจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเรขาคณิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างทางเรขาคณิต ได้สะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งเว็บเพจ MathsPad สามารถเข้าถึงได้ง่าย […]

ผู้ดูแลระบบ

06/05/2565

ห้องเรียนคณิตศาสตร์ออนไลน์ด้วย Google Site เพื่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)

1. ชื่อผลงาน ห้องเรียนคณิตศาสตร์ออนไลน์ด้วย Google Site เพื่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) มีรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน นั่นคือ การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped Classroom โดยเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เนื้อหาด้วยตนเองนอกห้องเรียน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน และเมื่อถึงคาบเรียนในห้อง นักเรียนและครูร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เช่น แบบฝึกหัด หรือ กิจกรรมท้าทายต่าง ๆ ฯลฯ โดยเปลี่ยนเป็นให้สอดคล้องกับสถานการณ์โดยการเข้าเรียนในคาบเรียนออนไลน์ที่โรงเรียนจัดให้ เพื่อดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามที่คาดหวัง ครูผู้สอนควรสร้างแหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้แก่นักเรียน อีกทั้งยังทำให้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามคามพร้อมของตนเองในทุก ๆ เวลา ช่วยลดระยะเวลาการเรียนรู้ในคาบเรียนและเสริมสร้างทักษะที่สำคัญให้แก่ผู้เรียน           จึงได้จัดทำ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ออนไลน์ด้วย Google Site ขึ้น โดยการนำคลิปการสอนออนไลน์ของโครงการ Project 14 โดย […]

ผู้ดูแลระบบ

05/05/2565

การสอนผ่านระบบ Facebook live ด้วยโปรแกรม OBS Studio และ การใช้ Line meeting เพื่อการเรียนการสอน

1. ชื่อผลงาน คู่มือสำหรับครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ “การสอนผ่านระบบ Facebook live ด้วยโปรแกรม OBS Studio และ การใช้ Line meeting เพื่อการเรียนการสอน” 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) จึงทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือรูปแบบ On-site ที่สถานศึกษาได้ จึงทำให้ครูผู้สอนต้องมีวิธีการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน โดยรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาจัดให้ผู้เรียนในสถานการณ์ดังกล่าว นั้นคือ รูปแบบ Online ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Online เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นการสื่อสาร 2 ทาง นักเรียนสามารถโต้ตอบกับครูผู้สอน ในการแสดงความคิดเห็น ซักถามข้อสงสัย การตอบคำถามและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์มีโปรแกรมหรือวิธีการที่หลากหลายให้เลือกใช้ตามความต้องการของครูผู้สอน ซึ่งโปรแกรมหรือวิธีการที่นิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ให้กับนักเรียน นั้นคือ การสอนผ่าน Facebook live ผ่านโปรแกรม OBS Studio ด้วยเป็นการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ที่นักเรียนเข้าถึงง่ายและสามารถรับชมย้อนหลังหรือดูซ้ำได้ เปรียบเสมือนเป็นทั้งการสอนรูปแบบ Online และรูปแบบ […]

ผู้ดูแลระบบ

05/05/2565

ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน

1. ชื่อผลงาน ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายชาฟีอี  หัดหมัน 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ เนื่องจากโรงเรียนบ้านทุ่งไพล เป็นสถานศึกษาที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม กล่าวคือ มี ผู้เรียนซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ประกอบไปด้วยชาวไทย ชาวพม่า  รวม ไปถึงชาวไทยมุสลิม  ที่ล้วนแล้วแต่มีวัฒนธรรมทั้งทางด้านภาษา ศาสนา รวมถึงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้โรงเรียนบ้านทุ่งไพลเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรม จากสภาพปัญหาดังกล่าวครูผู้สอนจึงสร้างนวัตกรรม ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ชิ้นนนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ง่ายและเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่มีอคติต่อกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่เกิดการแบ่งแยกเลือกปฏิบัติกัน ให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสได้ประสบความสำเร็จ และได้รับการ พัฒนาสูงสุดตามศักยภาพของตน   และสามารถอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข 4. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระศาสนาโดยผ่านนวัตกรรม ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน 5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ จัดเตรียมเนื้อหาและจัดทำสื่อป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ที่ต้องการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนตามแผนการสอนที่วางไว้ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในป๊อปอัพ ใช้สื่อป๊อปอัพ ในการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระศาสนา นักเรียนใช้สื่อป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ศึกษาเรื่องศาสนาต่าง ๆในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 6. ผลการดำเนินงาน มีนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม […]

ผู้ดูแลระบบ

24/08/2564

การยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาอังกฤษ โดยการใช้ Facebook

1. ชื่อผลงาน  การยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาอังกฤษ โดยการใช้ Facebook 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา    นางสาวอริยา ไกรสนาม 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ           ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดต้นทุนในด้านอื่น ๆ เช่น การจัดทำเอกสาร เป็นต้น  Facebook ถือเป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบันนักเรียนจำนวนมากให้ความสนใจ  โดยจากการสำรวจพบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งไพล มีบัญชีผู้ใช้งาน Facebook  และใช้ในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 100           ผู้จัดทำได้ตระหนักถึงความสำคัญของ  Facebook จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำ กลุ่ม Facebook สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งไพล ปีการศึกษา 2563 เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการส่งเสริม และสนับสนุนให้นักเรียนได้ ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อใช้สำหรับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  4. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างช่องทางการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ […]

ผู้ดูแลระบบ

23/08/2564

ป๊อปอัพสามมิติสองภาษาพัฒนาสติปัญญา

1. ชื่อผลงาน ป๊อปอัพสามมิติสองภาษาพัฒนาสติปัญญา 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา  นายสหรัช  ถาวรสุทธิ์ 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ           ปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น พ่อแม่และครูจึงควรใส่ใจในการใช้เทคโนโลยีของเด็กเป็นพิเศษ เทคโนโลยีสามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็ก อาทิเช่น การเรียนรู้เรื่องการอ่าน A – Z โดยให้เด็กดูผ่านแอปพลิเคชั่นที่สามารถส่องไปบนหนังสือ หรือ การเรียนคำพื้นฐานในหมวดต่าง ๆ ทั้งภาษไทย และภาษาอังกฤษโดยการสแกนคิวอาร์โคด เด็กๆจะเพลิดเพลินกับภาพและเสียง ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถใช้ได้ทั้งที่บ้าน และห้องเรียน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาแทนที่วิธีการสอนเด็กระดับปฐมวัยทั้งหมด เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนให้ดีขึ้น และเป็นสื่อกลางที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้           ครูผู้สอนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำ สื่อป๊อปอัพสามมิติสองภาษาผ่านคิวอาร์โคด สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งไพล ปีการศึกษา 2563 เพื่อส่งเสริมมีพัฒนาการด้านสิติปัญญา และมรทักษะทางภาษาที่เหมาะสมตามวัย นอกจากนี้สามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในกิจวัตรประจำวันของเด็ก 4. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างช่องทางการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการใช้สื่อสามมิติสองภาษาผ่านคิวอาร์โคด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับเด็กปฐมวัย 5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ สำรวจความต้องการของเด็กปฐมวัยในสิ่งที่เด็กสนใจจากการจัดกิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้ จัดทำสื่อป๊อปอัพสามมิติสองภาษาผ่านคิวอาร์โคด ในหมวดคำพื้นฐานต่าง ๆ จัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ […]

ผู้ดูแลระบบ

23/08/2564

ช่องข่าวประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ทุ่งไพลนิวส์ ข่าวรอบรั้วบ้านทุ่งไพล

1. ชื่อผลงาน ช่องข่าวประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ทุ่งไพลนิวส์ ข่าวรอบรั้วบ้านทุ่งไพล 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ           ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) ทำให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านทุ่งไพล ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างปกติหรือจัดการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน (On-site) ได้ ทำให้เกิดการส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลให้เกิดความสับสนหรือมีข้อสงสัยของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไพลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งไพล ได้ให้ความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างนวัตกรรม ช่องข่าวประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ทุ่งไพลนิวส์ ข่าวรอบรั้วบ้านทุ่งไพลขึ้น เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารกับผู้ปกครองในการประชาสัมพันธ์ ชี้แจง หรือ อธิบายข้อมูลต่าง ๆ ที่โรงเรียนต้องการสร้างความรู้ ความเข้าใจและแก้ปัญหาไม่ให้เกิดความสับสนในการรับข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนแก่ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไพล 4. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไพลที่เหมาะสมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไพลมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารที่โรงเรียนต้องประชาสัมพันธ์ให้ทราบ 5. กระบวนการดำเนินงาน วางแผนการทำงาน เตรียมเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอให้กับผู้ปกครอง ดำเนินการถ่ายทำและตัดต่อวีดิทัศน์ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในวีดิทัศน์ เผยแพร่วีดิทัศน์ในช่องทางยูทูป (YouTube) เฟซบุ๊ก (Facebook) ของโรงเรียน และช่องทางการสื่อสารแอพลิเคชั่นไลน์ (LINE […]

ผู้ดูแลระบบ

23/08/2564

เครื่องฉากทึบแสง D.I.Y. (Opaque Projector Do it yourself)

1. ชื่อผลงาน เครื่องฉากทึบแสง D.I.Y. (Opaque Projector Do it yourself) 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา ว่าที่ร้อยตรีฉัตรชัย นาคปาน 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ           ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) ทำให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านทุ่งไพล ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างปกติหรือจัดการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน (On-site) ได้ จึงได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ (Online) ซึ่งสิ่งสำคัญของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ คืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ อย่างเช่น เครื่องฉายทึบแสง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สะดวกสามารถใช้จัดการเรียนการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นการปฏิบัติจริง และยังสามารถใช้แทนกระดานได้อีกด้วย แต่เนื่องจากราคาในท้องตลาดค่อนข้างสูง ผู้จัดทำได้ให้ความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างนวัตกรรม เครื่องฉากทึบแสง D.I.Y. (Opaque Projector Do it yourself) เพื่อเป็นอุปกรณ์ไว้ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์อีกทั้งช่วยลดต้นทุนในด้านการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน 4. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครื่องฉากทึบแสง D.I.Y. (Opaque Projector Do it […]

ผู้ดูแลระบบ

23/08/2564
1 2