หุ่นยนต์จากคีย์บอร์ดเก่า

1. ชื่อผลงาน หุ่นยนต์จากคีย์บอร์ดเก่า

2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายฆบฝาด  หีมหวัง

3. ความเป็นมา/ความสำคัญ

โรงเรียนบ้านลำชิงไม่มีสื่อหุ่นยนต์สำหรับการเรียน ซึ่งหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาส่วนใหญ่มีราคาสูง ไม่สามารถซื้อให้นักเรียนได้ฝึกเขียนโปรแกรมได้ จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์จากคีย์บอร์ดเก่า มาพัฒนาเป็นสื่อการสอนหุ่นยนต์เพื่อฝึกการเขียนโปรแกรม โดยหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นใช้แผงวงจรคีย์บอร์ดโดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม Scratch ที่ใช้งานง่าย เพียงใช้การลากบล็อกคำสั่งมาวาง ช่วยให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิด และเหมาะสมสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยสอนการเขียนโปรแกรมในโรงเรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

4. วัตถุประสงค์ 

          เพื่อสร้างหุ่นยนต์ฝึกเขียนโปรแกรมด้วยโปรแกรมScratch

5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ (กรณีเป็นสื่อ ใช้สื่ออย่างไร/ใช้ในการเรียนการสอนวิชา/มาตรฐาน/ตัวชี้วัดใด)

          การพัฒนามี 2 ส่วน ได้แก่

                    5.1 พัฒนาส่วนของหุ่นยนต์

                   หุ่นยนต์ใช้รถบังคับขนาดเล็ก ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ ๒ ล้อ มีมอเตอร์ขับเคลื่อน
๒ ตัวแยกอิสระซ้ายขวา ตัวหุ่นยนต์มีขนาดความกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เซนติเมตร ทำจากพลาสติก สามารถวางวงจรควบคุมและกระบะถ่านบนตัวรถสำหรับใส่แบตเตอรี่ การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์อาศัยการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงในการบังคับล้อให้หมุนไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้

ตัวอย่างหุ่นยนต์
ตัวอย่างหุ่นยนต์

5.2 พัฒนาโปรแกรมเชื่อต่อหุ่นยนต์

                   โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ใช้โปรแกรม Scratch สำหรับฝึกเขียนโปรแกรมควบคุม แต่โปรแกรม Scratch จะรองรับเฉพาะ หุ่นยนต์ LEGO  และหุ่นยนต์ Microbit เท่านั้น จำเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมเสริม (Extension) เพื่อให้หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถเชื่อมต่อกับ Scratch ได้

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม

ในการจัดทำนวัตกรรมครั้งนี้ ผู้รายงานได้ใช้วิธีการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ผลการประเมินพบว่า หุ่นยนต์ที่พัฒนามีประสิทธิภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๔.๒๑) ซึ่งสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้

6. ผลการดำเนินงาน

  • มีสื่อหุ่นยนต์สำหรับการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม
  • ชุดสื่อมีราคาต่ำทำให้โรงเรียนสามารถซื้ออุปกรณ์มาผลิตเองได้

7. ปัญหา อุปสรรค

          ไม่มี

8. ข้อเสนอแนะ/การพัฒนาเพิ่มเติมหรือต่อยอด          

การพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรม Scratch 3