ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน

1. ชื่อผลงาน ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน

2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายชาฟีอี  หัดหมัน

3. ความเป็นมา/ความสำคัญ

เนื่องจากโรงเรียนบ้านทุ่งไพล เป็นสถานศึกษาที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม กล่าวคือ มี ผู้เรียนซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ประกอบไปด้วยชาวไทย ชาวพม่า  รวม ไปถึงชาวไทยมุสลิม  ที่ล้วนแล้วแต่มีวัฒนธรรมทั้งทางด้านภาษา ศาสนา รวมถึงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้โรงเรียนบ้านทุ่งไพลเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรม จากสภาพปัญหาดังกล่าวครูผู้สอนจึงสร้างนวัตกรรม ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ชิ้นนนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ง่ายและเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่มีอคติต่อกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่เกิดการแบ่งแยกเลือกปฏิบัติกัน ให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสได้ประสบความสำเร็จ และได้รับการ พัฒนาสูงสุดตามศักยภาพของตน   และสามารถอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข

4. วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม
  • เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระศาสนาโดยผ่านนวัตกรรม ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน

5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้

  • จัดเตรียมเนื้อหาและจัดทำสื่อป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ที่ต้องการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนตามแผนการสอนที่วางไว้
  • ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในป๊อปอัพ
  • ใช้สื่อป๊อปอัพ ในการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระศาสนา
  • นักเรียนใช้สื่อป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ศึกษาเรื่องศาสนาต่าง ๆในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

6. ผลการดำเนินงาน

  • มีนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม
  • นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระศาสนาโดยผ่านนวัตกรรม ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน

7. ปัญหา อุปสรรค

         ในห้องเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมาก จำเป็นที่จะต้องมีนวัตกรรมจำนวนหลายชิ้นเพื่อให้เกิดความเพียงพอกับนักเรียน

8. ข้อเสนอแนะ/การพัฒนาเพิ่มเติมหรือต่อยอด

เพิ่มเติมเนื้อหาให้มีครบทุกบทเรียน