ป๊อปอัพสามมิติสองภาษาพัฒนาสติปัญญา

1. ชื่อผลงาน ป๊อปอัพสามมิติสองภาษาพัฒนาสติปัญญา

2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา  นายสหรัช  ถาวรสุทธิ์

3. ความเป็นมา/ความสำคัญ

          ปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น พ่อแม่และครูจึงควรใส่ใจในการใช้เทคโนโลยีของเด็กเป็นพิเศษ เทคโนโลยีสามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็ก อาทิเช่น การเรียนรู้เรื่องการอ่าน A – Z โดยให้เด็กดูผ่านแอปพลิเคชั่นที่สามารถส่องไปบนหนังสือ หรือ การเรียนคำพื้นฐานในหมวดต่าง ๆ ทั้งภาษไทย และภาษาอังกฤษโดยการสแกนคิวอาร์โคด เด็กๆจะเพลิดเพลินกับภาพและเสียง ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถใช้ได้ทั้งที่บ้าน และห้องเรียน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาแทนที่วิธีการสอนเด็กระดับปฐมวัยทั้งหมด เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนให้ดีขึ้น และเป็นสื่อกลางที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้

          ครูผู้สอนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำ สื่อป๊อปอัพสามมิติสองภาษาผ่านคิวอาร์โคด สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งไพล ปีการศึกษา 2563 เพื่อส่งเสริมมีพัฒนาการด้านสิติปัญญา และมรทักษะทางภาษาที่เหมาะสมตามวัย นอกจากนี้สามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในกิจวัตรประจำวันของเด็ก

สื่อป๊อปอัพสามมิติสองภาษาพัฒนาสติปัญญา

4. วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างช่องทางการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการใช้สื่อสามมิติสองภาษาผ่านคิวอาร์โคด
  • เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอนให้คำแนะนำในการใช้สื่อ

5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้

  • สำรวจความต้องการของเด็กปฐมวัยในสิ่งที่เด็กสนใจจากการจัดกิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้
  • จัดทำสื่อป๊อปอัพสามมิติสองภาษาผ่านคิวอาร์โคด ในหมวดคำพื้นฐานต่าง ๆ
  • จัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ และกิจกรรมเสรีจากการนำสื่อป๊อปอัพสามมิติสองภาษาผ่านคิวอาร์โคดมาใช้โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ
  • การใช้สื่อป๊อปอัพสามมิติสองภาษาผ่านคิวอาร์โคดเกิดประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้การใช้ภาษา พัฒนาความคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่าง ๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งตรงกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 9.2.1 และ 12.1.1

6. ผลการดำเนินงาน

  • เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งไพล ปีการศึกษา 2563 มีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย
  • เด็กได้เกิดการเรียนรู้จากการจัดประสบการณ์และการใช้สื่อ
  • เด็กมีความสนใจ เพลิดเพลินจากการเรียนรู้ และมีทักษะการใช้เทคโนโลยี
เด็กเกิดความสนใจในการใช้สื่อ
เด็กสนทนากันระหว่างการใช้สื่อ

7. ปัญหา อุปสรรค

เด็กขาดความกล้าแสดงออกในการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยี

8. ข้อเสนอแนะ/การพัฒนาเพิ่มเติมหรือต่อยอด          

นำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นต่อยอดให้กับเด็กปฐมวัย บูรณาการในการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กสามารถสนทนาโต้ตอบ และมีความกล้าแสดงออกในการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยี