1. ชื่อผลงาน
ระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ออนไลน์

2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา
นางสุภาพร เชาวแพทย์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเมาะลาแต
3. ความเป็นมา/ความสำคัญ
ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การรายงานผลการเรียนออนไลน์ เว็บไซต์สำหรับเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การรายงานประชุม อบรม สัมมนาผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเมาะลาแต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และมอบนโยบายด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ข้าพเจ้าในฐานะรองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเมาะลาแต จึงพัฒนานวัตกรรมระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ออนไลน์ โดยใช้ Google Application มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบงาน เพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษของสถานศึกษา และเพิ่มความสะดวกแก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในการใช้ระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ผ่านระบบออนไลน์
4. วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) โดยใช้เครื่องมือ Google Form, Google Sheets, Google Docs และ Google Apps Script
- เพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษสำหรับแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ)
- เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครู นักเรียน และผู้ปกครองในการใช้ระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ผ่านระบบออนไลน์
5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้
- สำรวจความต้องการของงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ)
- พัฒนาระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ออนไลน์ ใช้ Google Form, Google Sheets, Google Docs และ Google Apps Script
- ทดสอบระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ออนไลน์
- นำระบบไปใช้งานจริง ส่งลิงค์ให้แก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ทำการประเมิน
- เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนรายงานผลเป็นรายบุคคลและห้องเรียน

6. ผลการดำเนินงาน
- โรงเรียนมีระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ที่มีประสิทธิภาพ
- เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสะดวก และประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ผลและรายงานผลการประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ)
- โรงเรียนลดปริมาณการใช้กระดาษสำหรับแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) จำนวน ๕ รีม
- ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) อยู่ในระดับมาก

7. ปัญหา อุปสรรค
ผู้ปกครองบางคนไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับการเข้าถึงระบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ)
8. ข้อเสนอแนะ/การพัฒนาเพิ่มเติมหรือต่อยอด
พัฒนาระบบให้สามารถแจ้งผลการประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) แก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ทันทีหลังจากทำแบบประเมินเสร็จ
