การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนบ้านบาโหย

1. ชื่อผลงาน การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนบ้านบาโหย 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ เนื่องจากปีการศึกษาที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 2019 ทำให้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด 2019 เป็นจำนวนมากส่งผลให้โรงเรียนทั่วประเทศไม่สามารถจะจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3 ได้จัดการอบรมการสร้างคุณภาพผู้เรียนใหม่สู่ศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM EDUCATION บูรณาการข้ามกลุ่มสาระ Design Thingking + Project Based Learning คณะครูโรงเรียนบ้านบาโหยเล็งเห็นว่าเป็นรูปแบบการจัดการสอนที่สามารถนำมาแก้ปัญหาสถาณการในช่วงนี้ได้           จึงนำมาทดลองใช้จัดการเรียนการสอน ผลปรากฏว่า สามารถจัดการเรียนการสอนได้จริงและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้นำรูปแบบการสอนดังกล่าวมาใช้เต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2565 นี้ 4. วัตถุประสงค์ 5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ 6. ผลการดำเนินงาน 7. ปัญหา อุปสรรค ในระดับชั้น ม.1 นักเรียนยังขาดความเข้าใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 8. ข้อเสนอแนะ/การพัฒนาเพิ่มเติมหรือต่อยอด อยากให้โรงเรียนส่งเสริมการสอนบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบแบบ

ผู้ดูแลระบบ

20/12/2565

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

1. ชื่อผลงาน การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นางรุซัยนีย์ ดุนี โรงเรียนบ้านเขาน้อย  อำเภอเทพา 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องใช้ และผลผลิตต่างๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านเขาน้อยที่ผ่านมาจะใช้วิธีการสอนแบบบรรยายโดยครูผู้สอนเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทดลองก็จะให้นักเรียนได้ปฏิบัติการทดลองจริงในการทดลองที่มีอุปกรณ์เพียงพอ ในส่วนการทดลองที่อุปกรณ์ไม่เพียงพอครูจะเป็นผู้ทดลองให้นักเรียนดู เนื่องจากโรงเรียนบ้านเขาน้อยเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก งบประมาณมีจำกัด ไม่สามารถจัดหาสื่อการทดลองได้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนไม่สามารถทำการทดลองได้ทุกคน อีกทั้งในการการทดสอบทางการศึกษา O-net  ปีการศึกษา 2562 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาน้อย พบว่าคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ และสาระการเรียนรู้เรื่องสารและสมบัติของสารเป็นสาระที่ต้องพัฒนาเร่งด่วน ข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะแก้ปัญหาและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียรรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น เกิดแนวทางการสร้างสื่อที่เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต พัฒนาตนเองและพัฒนาประเทศชาติต่อไป 4. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 […]

ผู้ดูแลระบบ

06/05/2565

การจัดการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรม Edpuzzle

1. ชื่อผลงาน การแทรกคำอธิบายหรือคำถามคั่นระหว่างการรับชมวิดีโอ เพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับการจัดการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรม Edpuzzle 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ในยุคปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิดิโอเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-๑๙) ครูผู้สอนนิยมใช้คลิปวิดีโอประกอบการจัดการเรียนรู้ เพราะ เป็นวิธีการที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเอื้อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกเวลาที่มีความพร้อม แต่ด้วยการสอนผ่านการส่งคลิปวิดีโอการสอนนั้น อาจทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากดู ส่งผลให้นักเรียนไม่มีความสุขในการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำลง           จึงได้นำเทคโนโลยีโปรแกรม Edpuzzle มาใช้เป็นสื่อเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยเป็นโปรแกรมเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับแทรกคำแนะนำหรือคำถามคั่นระหว่างการเรียนรู้ผ่านการรับชมวิดีโอการจัดการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น เพื่อทำให้การจัดการเรียนรู้ผ่านการรับชมวิดีโอมีความน่าสนใจ ดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้อยู่กับวิดีโอการจัดการเรียนรู้และช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ผ่านการตอบคำถามที่คั่นระหว่างการรับชมวิดีโอการจัดการเรียนรู้ 4. วัตถุประสงค์ เพื่อใช้เทคโนโลยีโปรแกรม Edpuzzle ในการจัดการเรียนรู้ผ่านวิดิโอการจัดการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจและกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ผ่านการตอบคำถามที่คั่นระหว่างการรับชมวิดีโอการจัดการเรียนรู้           เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาจากการเรียนรู้ผ่านวิดีโอการจัดการเรียนรู้ผ่านการแทรกคำแนะนำและคำถามคั่นระหว่างการรับด้วยด้วยโปรแกรมเว็บไซต์ Edpuzzle มากขึ้น 5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ สมัครและลงชื่อเข้าใช้ โปรแกรม Edpuzzle ผ่านเว็บไซต์ https://edpuzzle.com กด Add Content มุมบนขวาของเว็บไซต์ […]

ผู้ดูแลระบบ

06/05/2565

การจัดการเรียนรู้การสร้างรูปเรขาคณิต ด้วย MathsPad

1. ชื่อผลงาน การจัดการเรียนรู้การสร้างรูปเรขาคณิต ด้วย MathsPad 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ในสถานการณ์ที่การจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนต้องเปลี่ยนไป ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จากเดิมที่ครูสามารถการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน หรือ รูปแบบ On-Site ได้ครูจึงต้องหาวิธีการหรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ มาปรับใช้ในเหมาะสมกับสถานการณ์ เนื้อหาและความพร้อมของนักเรียน แต่ด้วยข้อกำจัดที่มาพร้อมกับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ดังกล่าว จึงทำให้เนื้อหา สาระหรือตัวชี้วัดบางตัวยากที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ ในวิชาคณิตศาสตร์ก็เช่นกัน ในสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ รูปเรขาคณิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการสร้างรูปเรขาคณิต เช่น ตัวชี้วัด ค 2.2 ป.6/2 สร้างรูปสามเหลี่ยมเมื่อกำหนดความยาวของด้านและขนาดของมุม ฯลฯ จึงทำให้ตัวชี้วัดดังกล่าวจัดเป็นตัวชี้วัด “ควรรู้” เช่นเดียวกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่ยากต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ปัจจุบัน  จึงได้นำเว็บเพจ MathsPad มาใช้เป็นสื่อเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือเรขาคณิต โดยสามารถใช้เว็บไซต์ดังกล่าวจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเรขาคณิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างทางเรขาคณิต ได้สะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งเว็บเพจ MathsPad สามารถเข้าถึงได้ง่าย […]

ผู้ดูแลระบบ

06/05/2565

ห้องเรียนคณิตศาสตร์ออนไลน์ด้วย Google Site เพื่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)

1. ชื่อผลงาน ห้องเรียนคณิตศาสตร์ออนไลน์ด้วย Google Site เพื่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) มีรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน นั่นคือ การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped Classroom โดยเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เนื้อหาด้วยตนเองนอกห้องเรียน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน และเมื่อถึงคาบเรียนในห้อง นักเรียนและครูร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เช่น แบบฝึกหัด หรือ กิจกรรมท้าทายต่าง ๆ ฯลฯ โดยเปลี่ยนเป็นให้สอดคล้องกับสถานการณ์โดยการเข้าเรียนในคาบเรียนออนไลน์ที่โรงเรียนจัดให้ เพื่อดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามที่คาดหวัง ครูผู้สอนควรสร้างแหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้แก่นักเรียน อีกทั้งยังทำให้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามคามพร้อมของตนเองในทุก ๆ เวลา ช่วยลดระยะเวลาการเรียนรู้ในคาบเรียนและเสริมสร้างทักษะที่สำคัญให้แก่ผู้เรียน           จึงได้จัดทำ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ออนไลน์ด้วย Google Site ขึ้น โดยการนำคลิปการสอนออนไลน์ของโครงการ Project 14 โดย […]

ผู้ดูแลระบบ

05/05/2565

การสอนผ่านระบบ Facebook live ด้วยโปรแกรม OBS Studio และ การใช้ Line meeting เพื่อการเรียนการสอน

1. ชื่อผลงาน คู่มือสำหรับครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ “การสอนผ่านระบบ Facebook live ด้วยโปรแกรม OBS Studio และ การใช้ Line meeting เพื่อการเรียนการสอน” 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายธนะวินทร์ มังคลาทัศน์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านทุ่งไพล 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) จึงทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือรูปแบบ On-site ที่สถานศึกษาได้ จึงทำให้ครูผู้สอนต้องมีวิธีการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน โดยรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาจัดให้ผู้เรียนในสถานการณ์ดังกล่าว นั้นคือ รูปแบบ Online ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Online เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นการสื่อสาร 2 ทาง นักเรียนสามารถโต้ตอบกับครูผู้สอน ในการแสดงความคิดเห็น ซักถามข้อสงสัย การตอบคำถามและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์มีโปรแกรมหรือวิธีการที่หลากหลายให้เลือกใช้ตามความต้องการของครูผู้สอน ซึ่งโปรแกรมหรือวิธีการที่นิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ให้กับนักเรียน นั้นคือ การสอนผ่าน Facebook live ผ่านโปรแกรม OBS Studio ด้วยเป็นการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ที่นักเรียนเข้าถึงง่ายและสามารถรับชมย้อนหลังหรือดูซ้ำได้ เปรียบเสมือนเป็นทั้งการสอนรูปแบบ Online และรูปแบบ […]

ผู้ดูแลระบบ

05/05/2565

ห้องเรียนออนไลน์ครูแมว@ควนมีด

1. ชื่อผลงาน ห้องเรียนออนไลน์ครูแมว@ควนมีด 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นางสาวจิระนันท์ ทิพวาศรี ครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนวัดควนมีด 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการเลื่อนเปิดสถานศึกษา และเกิดการแพร่หลายของแนวทางจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสารสนเทศขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น ครูผู้สอนในฐานะผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่นักเรียน มีการปรับตัว และเตรียมทักษะเพื่อรับมือกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใหม่อย่างทันท่วงที พร้อมรับกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ฉะนั้น การเตรียมการ และการฝึกฝนทักษะของครูไม่ว่าจะพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร การถ่ายทอด และการเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี รวมทั้งความกระตือรือร้นในการบริหารจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ และประเมินผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อปฏิบัติหน้าที่ครู ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพให้แก่นักเรียน โดยก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องสถานที่และอุปสรรคต่างๆ ได้ในที่สุดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ในยุคดิจิทัล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิมเป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสำหรับการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ซึ่งการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้กระบวนการ จัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล โดยรูปแบบการเรียนการสอนมีหลากหลายวิธี ที่จะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ชัดเจนที่สุด ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ อำนวยความสะดวกการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคน ทุกที่ […]

ผู้ดูแลระบบ

05/05/2565

หุ่นยนต์จากคีย์บอร์ดเก่า

1. ชื่อผลงาน หุ่นยนต์จากคีย์บอร์ดเก่า 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายฆบฝาด  หีมหวัง 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ โรงเรียนบ้านลำชิงไม่มีสื่อหุ่นยนต์สำหรับการเรียน ซึ่งหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาส่วนใหญ่มีราคาสูง ไม่สามารถซื้อให้นักเรียนได้ฝึกเขียนโปรแกรมได้ จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์จากคีย์บอร์ดเก่า มาพัฒนาเป็นสื่อการสอนหุ่นยนต์เพื่อฝึกการเขียนโปรแกรม โดยหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นใช้แผงวงจรคีย์บอร์ดโดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม Scratch ที่ใช้งานง่าย เพียงใช้การลากบล็อกคำสั่งมาวาง ช่วยให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิด และเหมาะสมสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยสอนการเขียนโปรแกรมในโรงเรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 4. วัตถุประสงค์            เพื่อสร้างหุ่นยนต์ฝึกเขียนโปรแกรมด้วยโปรแกรมScratch 5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ (กรณีเป็นสื่อ ใช้สื่ออย่างไร/ใช้ในการเรียนการสอนวิชา/มาตรฐาน/ตัวชี้วัดใด)           การพัฒนามี 2 ส่วน ได้แก่                     5.1 พัฒนาส่วนของหุ่นยนต์                    หุ่นยนต์ใช้รถบังคับขนาดเล็ก ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ ๒ ล้อ มีมอเตอร์ขับเคลื่อน๒ ตัวแยกอิสระซ้ายขวา ตัวหุ่นยนต์มีขนาดความกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เซนติเมตร ทำจากพลาสติก สามารถวางวงจรควบคุมและกระบะถ่านบนตัวรถสำหรับใส่แบตเตอรี่ การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์อาศัยการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงในการบังคับล้อให้หมุนไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ 5.2 พัฒนาโปรแกรมเชื่อต่อหุ่นยนต์ […]

ผู้ดูแลระบบ

24/08/2564

การบริหารจัดการเรียนการสอน โรงเรียนบ้านลางา ในสถานการณ์ COVID19 ด้วยโปรแกรม Loom

1. ชื่อผลงาน การบริหารจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาของคณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านลางาในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID19) ให้มีประสิทธิภาพโดยใช้โปรแกรม Loom 2. ผู้พัฒนา นายนาวาวี  เจะอุมา รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลางา อำเภอจะนะ 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ ปัจจุบันทั่วโลกได้เผชิญกับวิกฤตของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID19) เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลการกระทบในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ แม้แต่ด้านการศึกษา อย่างที่ทุกคนทราบกันดีถึงเรื่องการแพร่ระบาดและความรุนแรงที่เกิดขึ้น โรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงมากในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 ประกอบด้วยผู้คนจำนวนมาก ได้แก่ นักเรียน ครูหรือผู้ดูแลนักเรียนและผู้ปกครองอยู่รวมกัน จึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ง่ายถ้าหากจัดการไม่ดี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจการจัดการศึกษาทางไกลในสถานการณ์โรค COVID-19 และมีการจัดเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดภาคเรียน หากยังมีการแพร่ระบาดที่ต่อเนื่องและหนักขึ้นก็จะมีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในปัจจุบันได้มีการถูกหยิบกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ช่องทาง Facebook Live, ระบบ Zoom, Google Meet,Youtube,DLTV เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นช่องทางในการจัดการเรียนรู้ในห้วงสถานการณ์ดังกล่าวให้เกิดระสิทธิภาพและเพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการแพ่ระบาดของโควิด19 โดยโรงเรียนบ้านลางาได้กพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลที่ใช้ชีวิตในโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจํากัดเรื่องเวลา และสถานที่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเตรียมคนให้พร้อมกับศตวรรษที่ 21 โดยการปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบดิจิทัล […]

ผู้ดูแลระบบ

24/08/2564

ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน

1. ชื่อผลงาน ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน 2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา นายชาฟีอี  หัดหมัน 3. ความเป็นมา/ความสำคัญ เนื่องจากโรงเรียนบ้านทุ่งไพล เป็นสถานศึกษาที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม กล่าวคือ มี ผู้เรียนซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ประกอบไปด้วยชาวไทย ชาวพม่า  รวม ไปถึงชาวไทยมุสลิม  ที่ล้วนแล้วแต่มีวัฒนธรรมทั้งทางด้านภาษา ศาสนา รวมถึงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้โรงเรียนบ้านทุ่งไพลเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรม จากสภาพปัญหาดังกล่าวครูผู้สอนจึงสร้างนวัตกรรม ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ชิ้นนนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ง่ายและเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่มีอคติต่อกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่เกิดการแบ่งแยกเลือกปฏิบัติกัน ให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสได้ประสบความสำเร็จ และได้รับการ พัฒนาสูงสุดตามศักยภาพของตน   และสามารถอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข 4. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระศาสนาโดยผ่านนวัตกรรม ป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน 5. กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการนำสื่อไปใช้ จัดเตรียมเนื้อหาและจัดทำสื่อป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ที่ต้องการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนตามแผนการสอนที่วางไว้ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในป๊อปอัพ ใช้สื่อป๊อปอัพ ในการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระศาสนา นักเรียนใช้สื่อป๊อปอัพหรรษาศาสนาพาเพลิน ศึกษาเรื่องศาสนาต่าง ๆในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 6. ผลการดำเนินงาน มีนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม […]

ผู้ดูแลระบบ

24/08/2564
1 2